วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภาคใต้

           นกนางแอ่น (จังหวัดชุมพร)
     จังหวัดชุมพร มีทรัพยากรที่ล้ำค่าและมีชื่อเสียงโด่งดังมากในหลายเรื่องไม่ว่าแหล่งท่อง เที่ยว แหล่งปลูกกาแฟ ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่หวงแหนยิ่งที่เป็นแหล่งประกอบอาชีพตั้งแต่โบราณ และขณะนี้ นกนางแอ่น นับเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีค่ามหาศาลาให้แก่จังหวัดชุมพร ผลประโยชน์ที่ได้จากการผลิตภัณฑ์นกนางแอ่น รวมภาษีอากรที่รัฐได้รับมีส่วนในการช่วยบำรุงสาธารณประโยชน์ในทุกพื้นที่ของ จังหวัดชุมพร
          นอกจากนี้ นกนางแอ่นยังเป็นตัวมาสคอรต์เปิดงานกีฬาชุมพรเกมส์อีกด้วย


       เรือหางยาว (จังหวัดกระบี่)
        เรือหางยาวนับว่าเป็นยานพาหนะคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกระบี่ไปแล้ว ก็เป็นธรรมดาที่จังหวัดติดทะเล เมื่อต้องการเดินทางไปยังหมู่เกาะต่างๆ จำเป็นต้องใช้เรือ ไม่ว่าสมัยนี้ จะมีเรือที่ออกแบบมาให้ทันสมัย เช่น เรือยอร์ก ฯลฯ ให้เลือกเดินทางกันแล้วก็ตาม แต่เสน่ห์ความเป็นเอกลักษณ์ของเรือหางยาว ภูมิปัญญาของคนไทย ก็ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวใช้บริการมากเหมือนกัน ลองมาเที่ยวกระบี่แล้วนั่งเรือหางยาวชมทิวทัศน์ ให้บรรยากาศคลาสสิกไม่น้อย



         พะยูน (จังหวัดตรัง)
          ป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง  เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์ น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น
        สำหรับสถานะของพะยูนในประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากถูกคุกคามอย่างหนักในเรื่องถิ่นที่อยู่อาศัย ทำให้พฤติกรรมการหากินเปลี่ยนไปกลายเป็นมักจะหากินเพียงลำพังตัวเดียว ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงที่เดียวในประเทศไทย คือ บริเวณหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง เท่านั้น คาดว่ามีเหลืออยู่ประมาณ 100 ตัว และอาจเป็นไปได้ว่ายังพอมีเหลืออยู่แถบทะเลจังหวัดระยอง แต่ยังไม่มีรายงาน ที่มีข้อมูลยืนยันถึงเรื่องนี้เพียงพอ
        พะยูนเป็นสัตว์คู่บ้านของจังหวัดตรังมาเนิ่นนานแล้ว ทั้งนี้ชาวประมงตรังยังช่วยกันอนุรักษ์พะยูนให้คู่กับทะเลในจังหวัดต่อไป



 เครื่องถมสามกษัตริย์  (จังหวัดนครศรีธรรมราช)
           เครื่องถม นอก จากจะเป็นเครื่องราชูปโภคแล้ว ยังเป็นเครื่องราชบรรณาการอีกอย่างหนึ่งด้วย กล่าวคือ เป็นของขวัญชิ้นสำคัญของพระเจ้าแผ่นดินเสมอมา อาทิ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานเครื่องถม ถวายแด่สมเด็จพระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษ และจนบัดนี้ ยังตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังบัคกิ้งแฮม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระราชทานเครื่องถม แด่สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธแห่งอังกฤษ แด่ประธานาธิบดีไอเชนฮาวแห่งสหรัฐอเมริกา เฉพาะอย่างยิ่งทรงเลือกหีบบุหรี่ถมทอง และตลับแป้งถมทอง พระราชทานแก่แพทย์และนางพยาบาลทั้ง ๔ ที่ร่วมถวายการประสูติ และอภิบาลพระองค์ท่าน ณ เมื่องบอสตัน
       เครื่อง ถมได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ช่างไม่สามารถผลิตได้ทัน ตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งมีทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศได้ อีกทั้งต้นทุนการผลิตก็ถีบตัวสูงขึ้นทุกที ช่างฝีมือดีก็นับวันจะลดลงๆ เพราะเป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือ และความละเอียดประณีตสูง จึงทำให้ช่างสมัยใหม่ นำเอากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เข้ามาช่วย ซึ่งทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลง แต่ผู้ที่รักในศิลปะไม่นิยม ในที่สุดงานเครื่องถม ก็ด้อยความนิยมและเสื่อมลงไป แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้โปรดฯ ให้ฟื้นฟูวิชานี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพราะทรงเกรงว่าครูช่างถม จะสูญสิ้นไปหมดจึงโปรดฯ ให้นำช่างชาวนครศรีธรรมราช มาเป็นครูสอนสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพ จนในปัจจุบันมีช่างผู้สืบต่อ ถึงขั้นถ่ายทอดให้กับคนรุ่นต่อไป ได้อย่างภาคภูมิจำนวนไม่น้อย และเครื่องถม ก็กลับมาได้รับความนิยมอย่างสูง อีกครั้งหนึ่ง






     ไข่เค็มไชยา (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
       ไข่เค็มไชยา เป็น ของฝากขึ้นชื่ออย่างหนึ่งของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากใช้ไข่เป็ดธรรมชาติมาทำด้วยเทคนิคที่แตกต่าง จากไข่เค็มถิ่นอื่น จึงเป็นไข่เค็มที่ไข่แดงสีแดงจัด มีรสชาติกลมกล่อมไม่เค็มจัด และอร่อยติดปากผู้ที่ได้ลองลิ้มชิมรสมาเป็นเวลายาวนาน
        ไข่เค็ม ไชยาเป็นการถนอมอาหารชนิดหนึ่งเพื่อเก็บไว้กินนาน ๆ ที่ชาวไชยารู้จักทำมาตั้งแต่โบราณเนื่องจากในท้องที่อำเภอไชยา เป็นพื้นที่ที่มีการทำนามากที่สุดในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การเลี้ยงเป็ดของชาวไชยามีเกือบทุกบ้านของผู้ที่มีอาชีพทำนา ซึ่งจะเลี้ยงบ้านละ 10 -20 ตัว การเลี้ยงเป็ดส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบปล่อยทุ่ง เป็ดจะหาอาหารธรรมชาติในทุ่งนาซึ่งมีจำพวก ปู ปลา หอย สมบูรณ์ และจะเสริมอาหารด้วยข้าวเปลือก จึงทำให้คุณภาพของไข่เป็ดแดงไม่มีกลิ่นคาว วิธีการทำ
       และที่สำคัญ ไข่เค็มไชยาค่อนข้างจะมีลักษณะพิเศษกว่าที่อื่นตรงที่มีการหุ้มด้วยดินและ เคลือบด้วยขี้เถ้าแกลบ ซึ่งไข่เค็มที่อื่นมักจะใช้วิธีดองด้วยน้ำเกลือ


  กล่องอเนกประสงค์จากใบเตย (จังหวัดสงขลา)
      จากภูมิปัญญาชาวบ้านในการสานเสื่อเตยมาใช้นั่ง ปูพื้นวางสิ่งของ ของชาวบ้าน ทำให้เห็นคุณค่าของวัสดุในท้องถิ่นที่น่าจะสามารถพัฒนาและแปรรูปให้เป็นของ ใช้เอนกประสงค์อย่างอื่นหลากหลายอีกได้มากมาย จึงได้รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาและนำวัสดุในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านในท้องถิ่น
       นอกจากนี้ ภูมิปัญญาดีๆของชาวสงขลาก็ได้ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ภายในจังหวัดส่งชิ้นงานสู่ สายตาจากคนต่างถิ่น สร้างสรรค์ออกมาเป็นกล่องใส่กระดาษชำระ กระเป๋า ฯลฯ และได้ยกย่องให้เป็นสินค้า OTOP 5 ดาวที่มีชื่อเสียงของภาคใต้อีกจังหวัดหนึ่ง



           ผลิตภัณฑ์าจากต้นกระจูด (จังหวัดพัทลุง)
 ชาวพัทลุงนำภูมิปัญญาสรรหาวัตถุดิยธรรมชาติในท้องถิ่น มาสร้างสรรค์เป็นผลงานชิ้นเอกแก่จังหวัด ไม่น่าเชื่อว่าต้นกระจูด สามารถประยุกต์ให้มันสวยงามได้ขนาดนี้ ชาวบ้านบอกว่า ต้นกระจูดมีอยู่ 2 ชนิด คือ จูดใหญ่ และจูดหนู จูดใหญ่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก ส่วนจูดหนูมีลำต้นเล็กและสั้น ความเหนียวน้อยกว่าจูดใหญ่ โดยทั่วไปราษฎรทางภาคใต้ใช้กระจูดในการสานเสื่อ ทำใบเรือ ทำเชือกผูดมัด และทำกระสอบบรรจุสินค้าเกษตรและสิ่งของอื่น ๆ 
        กรรมวิธี สานเสื่อจูดนั้นจะแตกต่างจากการสานเสื่อทั่วไป คือ ชาวบ้านจะนำต้นกระจูดมาคลุกดินขาวก่อนตากแดดให้แห้งแล้วจึงทุบต้นกระจูดให้ แบนเพื่อให้มีความนิ่มตัวสำหรับ หากต้องการให้มีสีสันก็นำไปย้อมสีก่อนนำ 
           ด้วย เหตุนี้เองชาวบ้านจึงได้รวมกลุ่มกันเพื่อทำผลิตภัณฑ์จากต้นกระจูด ซึ่งมีความคงทนต่อการใช้งานเป็นสินค้าที่มีคุณภาพเป็นอย่างมาก โดยมีการทำเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆอาทิ โต๊ะ กระเป๋า และอื่นๆ อีกมากมาย 




           เขาตะปู (จังหวัดพังงา)
     เขาตะปู มี ลักษณะเป็นแท่งหินใหญ่มหึมาโดดเด่นปักอยู่ในทะเลบริเวณปากอ่าวพังงาใกล้ๆ กับเขาพิงกัน ซึ่งเมื่อ มองจากระยะไกลแล้ว จะเห็นมีลักษณะคล้ายกับตะปูขนาดยักษ์ถูกตอกลึกลงไปในน้ำ อย่างไรก็ตามเขาตะปูเป็น ภูเขาที่มีอันตรายห้ามเข้าใกล้เนื่องจากส่วนที่จมอยู่ใต้ทะเลได้ถูกน้ำทะเล กัดเซาะ เป็นเวลานานนับล้านปี จึงสึก กร่อนและมีขนาดเล็กกว่าส่วนบน มากมายหลายเท่า จนมีความกลัวกันว่าอาจล้มลงมาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ทางราชการ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ห้ามนักท่องเที่ยวล่องเรือเข้าไปดูใกล้ๆ โดยเด็ดขาด เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับอันตรายดังกล่าว เขาตะปูเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง จนมีภาพยนตร์ฮอลลีวูด มาถ่ายทำที่เกาะตะปูนี้ ในปี พ.ศ. 2517 ภาพยนตร์เรื่องเจมส์ บอนด์ ตอนเพชฌฆาตปืนทอง (The Man with the Golden Gun) และเกาะตะปู ยังได้รับการขนานนามอีกชื่อหนึ่งว่า "James Bond Island" อีกด้วย



      พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว (จังหวัดภูเก็ต)
      ตั้งอยู่ที่ิืถนนกระบี่ิืย่ิืานเมืิืองเก่ิืาภูเก็ต สถานที่แห่งนี้เดิมเป็นโรงเรียนสอนภาษาจีนแห่งแรกในจัิืงหวัดภูเก็ต ซึ่งชาวจีนฮกเกี้ยนบรรพบุรุษชาวจีนรุ่นแรกที่อพยพมาอยู่ที่ภูเก็ตได้ร่วมกัน ตั้งขึ้น ตัวอาคารแบบชิโนโปรตุกีสที่เห็นในปัจจุบันนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 บนหน้าจั่วอาคารเรียน มีรูปปูนปั้นเป็นรูปค้างคาวแดง ซึ่งสื่อความหมายถึง การรู้หนังสือคือชคอันยิ่งใหญ่ เป็นการแสดงให้เห็นถึงการตระหนักถึงการให้การศึกษาแก่ลูกหลานชาวภูเก็ต ไม่เฉพาะการเล่าเรียน เพื่อให้อ่านออกเขียนได้เท่านั้น แต่หัวใจสำคัญของการศึกษาอยู่ที่การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และปรัชญาในการดำเนินชีวิต
                ลักษณะของอาคารหลังนี้ เป็นอาคาร 2 ชั้ิืน เมื่อเข้าไปด้านในสถานที่ท่องเที่ยวเป็น ห้องโถงกว้างใหญ่ มีห้องทั้งปีกซ้ายและขวา มีบันไดเดินขึ้นชั้นบน ซึ่งมีระเบียงล้อมรอบพื้นที่ว่างที่สามารถมองลงมาชั้นล่าง ด้านบนยังใช้เป็นห้องเรียนภาษาจีน ส่วนด้านล่างมักใช้จัดนิทรรศการต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะด้านศิลปะและวัฒนธรรม ลานกว้างด้านหน้าอาคารจัดแสดงภาพถ่ายเก่า ๆ ของโรงเรียน ส่วนภายในอาคารจัดแสดงสิ่งของ หนังสือ ภาพถ่ายและเรื่องราวต่าง ๆ ของโรงเรียนภูเก็ตไทยหัวแล้ว ยังจัดเป็นห้องนิทรรศการภาพแสดงความเป็นมาของชาวจีนที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ ภูเก็ต บุคคลสำคัญของภูเก็ต ชุดแต่งกายประจำถิ่น อาหารพื้นเมือง เทศกาลงานประเพณี อาคารแบบชิโนโปรตุกีส และภาพถ่ายเก่าแก่ที่แสดงความเป็นมาด้านเศรษฐกิจของภูเก็ตตั้งแต่ยุคเหมือง แร่ การทำสวนยางพารา และการท่องเที่ยว 



        โรตีมะตะบะ (จังหวัดสตูล)
   ต้น กำเนิดเกิดที่ต่างแดนบ้านพี่เมืองน้องของสตูล คือมาเลเซีย เมื่อหลายปีก่อน คุณลัคนา นวมศิริหรือที่เรียกชื่อกันติดปากว่าคุณหลิวบ้าง เจ๊หลิวเจ้าของ ร้านขอบคุณสตูลได้ไปเที่ยวในดินแดนมาเลเซียบ่อยครั้ง พบว่า วัฒนธรรมการกินการอยู่เหมือนกับบ้านเกิดของต้นเองที่ตำบลเจ๊ะบิลังมีการกิน การดื่มที่แปลกอย่างหนึ่งคือ การดื่มชากาแฟ ที่แปลกก็เพราะว่าต้องชักก่อนทำให้เกิดฟองแล้วนำมาดื่ม คุณหลิวได้เกิดความคิดว่า ถ้าเราทำให้แปลกกว่าเขามันน่าจะดี เราก็มีพื้นฐานด้านชากาแฟอยู่แล้ว ถ้าปรับปรุงให้ดี อย่างแรกรสชาติชาต้องถูกปากคนไทยคุณหลิวได้ชงชาหรือชักชาโดยลองถูกลองผิดอยู่ประมาณ2 ปี ต่อมาได้ประยุกต์แสดงลีลาที่แปลกกว่าคนอื่นไปพร้อมกับการชงชาหรือชักชาที่รส ชาติต้องดีด้วย ทำให้คนที่ได้พบ เห็นเป็นความแปลก เมื่อได้ลิ้มชิมชาก็ติดใจในความอร่อยกลมกล่อมติดปากอยากลิ้มลองมิรู้เบื่อ จึงทำให้มีชื่อเสียงขึ้นเป็นสินค้า OTOP ระดับสี่ดาวของจังหวัดสตูล ปัจจุบันได้เปิดร้านคอยผู้คนที่จะแวะไปมาหาสู่และลิ้มลองอยู่ที่ร้านขอบคุณสตูล






     นกกรงหัวจุก (จังหวัดยะลา)
      ชาวยะลามีความหลงไหลเจ้านกกระจุกนี้มาก เพราะนอกจากจะเป็นนกที่สวยงามชนิดหนึ่งแล้ว ยังเป็นแหล่งสร้างเงินสร้างอาชีพให้กับชาวยะลาเป็นจำนวนมาก ในแต่ละปี ทางจังหวัดจะมีการจัดการแข่งขันนกกรงหัวจุกประชันความสวยงามกัน 
               สำหรับการจัดการแข่งขันนกกรงหัวจุกการกุศลในทุกครั้ง ได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนที่นิยมเลี้ยงนกกรงหัวจุกในพื้นที่ จ.ยะลา และ ในจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมในการแข่งขันเป็นจำนวนมากการจัดการแข่งขันนกกรงหัว จุก ถือเป็นการสร้างสีสัน และ สร้างบรรยากาศที่ดีในพื้นที่ เพื่อให้พี่น้องประชาชนที่นิยมเลี้ยงนก ได้คลายความตรึงเครียดของสถานการณ์ อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม และ ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของพี่น้องประชาชนทั้งชาวไทยพุทธ และ ชาวไทยมุสลิม ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ อีกด้วย โดยเงินรายได้ทั้งหมดที่ได้จากการจัดการแข่งขัน จะนำไปเป็นเงินสนับสนุนการศึกษาภายในพื้นที่ จ.ยะลา ต่อไป




     ผลมะม่วงหิมพานต์ (จังหวัดระนอง)

        มะม่วง หิมพานต์เป็นไม้ผลพื้นเมืองของอเมริกาใต้ มีปลูกกันทั่วไปตั้งแต่เม็กซิโกจนถึงเปรู ต่อมาได้ ขยายพันธุ์ออกไปอย่างกว้างขวางในทวีปอาฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ตามหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทร แปซิฟิค ตลอดจนถึงทวีปเอเซีย ประเทศที่นับได้ว่าเป็นผู้ส่งออกผลิตผลจากมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ของโลก ได้แก่ อินเดีย โมแซมบิค แทนซาเนีย บราซิล เป็นต้น
         ประวัติการนำ เข้ามาในประเทศไทยนั้น สันนิฐานว่า พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี ณ ระนอง) ได้นำเข้า มาจากอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2444 พร้อม ๆ กับยางพารา และหลังจากนั้นได้มีผู้นำเข้ามาอีกหลายครั้งจากอินเดีย ไลบีเรีย เป็นต้น โดยกรมวิชาการเกษตร (กรมกสิกรรมเดิม) เป็นผู้ทดลองศึกษาค้นคว้าคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถปลูกให้ได้ผลผลิตสูงในประเทศไทย
        ปัจจุบัน มะม่วงหิมพานต์ได้ปลูกกระจายไปทั่วประเทศ แต่ปลูกมากทางภาคใต้ เช่น ระนอง พังงา เป็นต้น และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถมยังสมารถแปรรูปเป็นอาหารยอดฮิตได้หลายชนิด