วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภาคอีสาน



   ประเพณีแห่เทียนพรรษา (จังหวัดอุบลราชธานี)
       งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ของชาวอุบลฯ ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 และแรม 1 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา จัดให้มีขึ้นทุกปี
       จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ความว่า ชาวอุบลราชธานี ได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่ พ.ศ.2470 จนเมื่อปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือ บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียน จะเคลื่อนขบวนจาก หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ไปตามถนน มาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่องานแต่ละปี และมีชื่อเสียงไกลระดับประเทศและระดับโลก

       


      ท้าวสุรนารี (จังหวัดนครราชสีมา)

                 ท้าวสุรนารี หรือ ย่าโม เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะวีรสตรีผู้กอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์แห่งเวียงจันทร์เมื่อปี พ.ศ.2369อย่าง ไรก็ตาม ในปัจจุบันได้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่าท้าวสุรนารีมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ เนื่องจากเรื่องราวของท้าวสุรนารีพบในหลักฐานเป็นบันทึกที่ออกเผยแพร่ภาย หลัง พ.ศ. 2475 เท่านั้น
        วีรกรรมของคุณหญิงโมนั้นเป็นที่คนไทยรุ่นหลังทราบดีว่า เมื่อพุทธศักราช 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ เป็นกบฏต่อกรุงเทพฯ ยกกองทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้ แล้วกวาดต้อนครอบครัวชาวนครราชสีมาไป คุณหญิงโม และนางสาวบุญเหลือ ได้รวบรวมครอบครัวชาย หญิงชาวนครราชสีมาที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เข้าต่อสู้ฆ่าฟันทหารลาวล้มตายเป็นอันมาก ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พุทธศักราช 2369 ช่วยให้ฝ่ายไทยสามารถกอบกู้เมืองนครราชสีมากลับคืนมาได้ในที่สุด
    เมื่อความทราบไปถึง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโม ขึ้นเป็น ท้าวสุรนารี เมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 เมื่อคุณหญิงโมมีอายุได้ 57 ปี พร้อมกับพระราชทานพระราชทานเครื่องยศ

       


      ทุ่งดอกกระเจียว (จังหวัดชัยภูมิ)

           ทุ่ง ดอกกระเจียว ป่าหินงาม ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอ เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ที่นี่นอกจะเป็นทุ่งดอกกระเจียวถือเป็นไฮไลต์ที่เด่นที่สุดของการมาท่อง เที่ยวที่นี่การมาเที่ยวชมที่นี่ นักท่องเที่ยว จะได้สัมผัสกับทุ่งบัวสวรรค์หรือดอกกระเจียว ราชินีแห่งมวลไม้ดอกของขุนเขาป่าหินงาม ออกดอกสีชมพูอมม่วง ที่จะ ทยอยผลิบานเป็นระยะเวลา 2 เดือน ที่ออกปีละครั้ง ชูช่อล้อสายลมและสายหมอก ขึ้นเต็มทั่วผืนป่าทุ่ง ดอกกระเจียว ถือเป็นไฮไลต์ท่องเที่ยวช่วงฤดูฝนแห้งแล้งจะกลับคืนสู่ความ เขียวขจีและแต่งแต้มด้วยความ สดใส ของกระเจียวที่ผิดอกสีชมพูเต็มทุ่งหญ้ากว้าง ด้วยความงดงามตระการตาของดอกสีชมพูอมม่วงขึ้นเต็มไป ทั่วผืนป่า ตัดกับพื้นสีเขียวขจีของหญ้าเพ็ก และโขดหินธรรมชาติ อีกทั้งรูปลักษณ์สวยงาม วิจิตรพิสดารทำให้เป็น ทุ่งดอกกระเจียวในอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เป็นทุ่งดอกกระเจียวที่ใหญ่ที่สุด และงดงามที่สุดในประเทศไทย 
ดอกกระเจียวจะพากันบานอยู่
      การเดินทางมาชมทุ่งดอกกระเจียวที่สวยงามที่สุด คือ ในช่วงเช้าที่มีสายหมอกบางๆ ปกคลุม แต่ถ้าหากมาในช่วง บ่ายที่ฝนเพิ่งตกใหม่ๆ ก็จะเจอบรรยากาศแบบนี้ได้เช่นกัน นอกจากนี้การเที่ยวชมเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ทุ่งดอกกระเจียว แล้ว ยังสามารถชมแหล่งท่องเที่ยวบริเวณข้างเคียงได้อีกด้วย เช่น ป่าหินงาม ซึ่งจะมีก้อนหินรูป ลักษณ์แปลกตา นรูปถ้วยรางวัลฟุตบอลฟีฟ่า รูปดอกเห็ดเขาประตูชุมพล น้ำตกเทพประทาน



     


      ดอกลำดวน (จังหวัดศรีสะเกษ)

            ดอกหอมนวล หรือ ลำดวน  เป็น ไม้ดอกชนิดหนึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นพันธุ์ไม้พระราชทาน เป็นมงคลประจำจังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนี้ ดอกหอมนวลยังเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงด้วย
         ดอก หอมนวลเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5 - 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปกรวย หนาทึบ ลำต้นเปลาตรง มีเปลือกสีน้ำตาล แตกขรุขระเป็นสะเก็ด ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 5-11.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนใบสอบหรือมน ดอกมีสีนวลกลิ่นหอม ออกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบดอกหนาและแข็ง กลีบดอก ชั้นนอก 3 กลีบแผ่ออก ชั้นใน 3 กลีบ หุบเข้าหากัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ลักษณะผล เป็นผลกลุ่ม ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร สีเขียว เมื่อสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว



      


               พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง (จังหวัดขอนแก่น)
         เป็นพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาแห่งหนึ่ง โดยเน้นที่การจัดแสดงเรื่องราวของซากดึกดำบรรพ์ สังกัดกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่บนพื้นที่สาธารณประโยชน์โคก สนามบินเนื้อที่ 100 ไร่ ในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ก่อสร้างด้วยเงินงบประมาณจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ อยู่ในความกำกับดูแลของกรมทรัพยากรธรณี เริ่มเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 
       พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง มีการจัดองค์ประกอบการดำเนินงานอย่างครบวงจร มีการจัดพื้นที่ดำเนินงานประกอบด้วย ส่วนสำรวจและวิจัย ส่วนอนุรักษ์และทำเทียมชิ้นส่วนตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ ส่วนคลังตัวอย่าง ห้องสมุด ส่วนนิทรรศการถาวร ส่วนบริหารจัดการ และพื้นที่บริการได้แก่ โรงอาหาร ร้านขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม ร้านขายของที่ระลึก และลานจอดรถ รวมถึงห้องประชุมขนาด 140 ที่นั่ง พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านธรณีวิทยามีการจัดกิจกรรม ร่วมกับสถานศึกษาต่างๆ และรวมถึงหน่วยงานอื่นๆ เช่น มูลนิธิด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงมีโอกาสต้อนรับคณะนักท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้ง ชาวไทยและชาวต่างประเทศ 

      


            


                 ประเพณีบุญบั้งไฟ (จังหวัดยโสธร)
      ประเพณีบุญบั้งไฟ ยโสธร จะจัดขึ้นในวันเสาร์ อาทิตย์ ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ณ.สวนสาธารณะพญาแถน โดยมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้วเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจะดล บันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ นอกจากการจัดงานบุญบั้งไฟแล้ว ยังมีการจัดงานสวนสนุก มหรสพ เวทีคอนเสิร์ต การจำหน่ายสินค้า OTOP และสินค้าทั่วไปที่บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองยโสธร
           บั้ง ไฟที่จัดทำให้มีหลายชนิด คือ มีทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน บั้งไฟกิโลนั้น หมายถึง น้ำหนักของดินประสิว 1 กิโลกรัม บั้งไฟหมื่นกิโล ก็ใช้ดินประภว 12 กิโลกรัม บั้งไฟแสน ก็ใช้ดินประสิว 10 หมื่น หรือ 120 กิโลกรัม เมื่อตกลงกันว่าจะทำบั้งไฟขนาดไหน ก็หาช่างมาทำ หรือที่มีฝีมือ ก็ทำกันเอง ช่างที่ทำบั้งไฟนั้น สำคัญมาก ช่างจะต้องเป็นผู้มีฝีมือในการคำนวนผสมดินประสิวกับถ่านไม้ เพราะถ้าไม่ถูกสูตร บั้งไฟก็จะแตก คือไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า สำหรับไม้ที่จะทำเป็นเสาบั้งไฟนั้น ต้องเป็นไม้ไผ่ที่มีลำปล้องตรงกันเสมอกัน จะตัดเอาแต่ที่โคนต้น เพราะมีความหนาและเหนียว ความยาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน
          ในวันรุ่งขึ้น เป็นการจุดบั้งไฟ จะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำจะถูกจับโยนลงในโคลน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมารุ่นสู่รุ่น





         



                แคน (จังหวัดร้อยเอ็ด)
         แคน เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของชาวร้อยเอ็ด ที่มีเสียงเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในการเล่นดนตรีเสียงซาวด์อีสานหรือหมอ ที่ต้องนำแคนมาเป็นส่วนประกอบ จะทำให้เสียงเพราะพริ้งมากขึ้น
       นอกจากนี้ ชาวร้อยเอ็ดยังทำแคนเป็นสินค้าส่งขายไปทั่วประเทศ ลักษณะรูปร่างและเสียงจะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นนั้นๆ

          





       ลูกหยียักษ์ (จังหวัดบึงกาฬ)
         ลูกหยียักษ์ หรือที่ชาวลาวเรียกว่า "มะขามแพทย์"  ส่วนใหญ่ในภาคอีสานในบ้านเราจะเรียกกันว่า "บักเค็งใหญ่" เป็นไม้ยืนต้น ที่เริ่มติดผลเมื่อต้นอายุได้ 7 ถึง 8 ปี ผลคล้ายลูกเค็ง แต่มีผลใหญ่กว่า และรสเปรี๊ยวจัดกว่า
       ปัจจุบัน เกษตรกรที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ สั่งต้นลูกหยียักษ์มากจากลาวมาปลูกในพื้นที่ และเก็บเป็นผลไม้แปรรูปจนกลายเป็นของฝากยอดนิยมของจังหวัดบึงกาฬไปเสียแล้ว และได้รับคัดเลือกให้เป็นสินค้า OTOP 4 ดาว ประจำจังหวัด 



        



             โปงลาง (จังหวัดกาฬสินธุ์)
        โปงลาง เป็น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะหรือเครื่องตี มีลักษณะคล้ายระนาด แต่แขวนในแนวดิ่ง เป็นที่นิยมในภาคอีสาน บางท้องถิ่นอาจเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากขอลอ หรือ เกราะลอ(ผู้เฒ่าผู้แก่ในถิ่นดงมูลอำเภอหนองกุงศรีเรียก "หมากเต๋อเติ่น") เป็นเครื่องดนตรีประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
      นายเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี พ.ศ 2529 ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ทำการพัฒนาโปงลางจนมีลักษณะเช่นในปัจจุบัน โดยได้พัฒนาโปงลางขึ้นจากเกราะลอ ซึ่งใช้เคาะส่งสัญญาณในท้องนา

     



   พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หลวงปู่ขาว อนาลโย    (จังหวัดหนองบัวลำภู)
      ตั้งอยู่ในต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารและพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ขาว อนาลโย ตั้งอยู่ ในวัดถ้ำกลองเพล อันเป็นสถานที่ที่หลวงปู่ขาว อนาลโยพระ วิปัสสนากรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้มาอาศัยปฏิบัติธรรมเมื่อปี พ.ศ.2501 หลังจากที่ท่าน ได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2526 แล้ว ทาง ราชการและคณะศิษยานุศิษย์ได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ของท่านไว้สองแห่งภายในวัด คือ พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของท่าน ซึ่งเป็นหินอ่อนที่สร้างขึ้นเพื่อ เก็บรวบรวมอัฐิและอัฐบริขารของท่านเพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นสถานที่เคารพสักการะของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วไป
      ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือ พิพิธภัณฑ์ หุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่ง สร้างขึ้นในรูปทรงก้อนหินเรียงกัน 3 ก้อน เพื่อให้เข้ากับภูมิประเทศซึ่งเต็มไปด้วยหิน รอบ ๆ บริเวณ ตกแต่งด้วยไม้ดอกปละสนามหญ้าเขียวขจี ภายในพิพิธภัณฑ์มีหุ่นขี้ผึ้ง ของหลวงปู่ขาว อนาลโย และมณฑปของหลวงปู่ขาว  คณะศิษยานุศิษย์ได้ ร่วมใจกันสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์ในบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพ โดยรวบรวมบริขารและของใช้ที่จำเป็นพร้อมทั้งประดิษฐานรูปปั้นของท่านไว้ ณ สถานที่นี้ เพื่อเป็นที่สักการบูชาและรวบรวมจิตใจ ของพุทธศาสนิกชนชาวพุทธตลอดกาลนาน
      






      การฟ้อนหมอลำอีสาน (จังหวัดอำนาจเจริญ)         

         การละเล่นของการฟ้อนรำของชาวอำนาจเจริญ มีขั้นตอนและวิธีการรำที่ถูกต้อง รวมถึงชุดแต่งกายด้วย เช่น การฟ้อนแม่บทอีสานนั้นจะใช้ฟ้อนเดี่ยวหรือฟ้อนคู่ชายหญิงก็ได้ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น